วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

ปางอุ๋ง



ปางอุ๋ง หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)นั้น เป็นโครงการในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่อันตราย อยู่ติดแนวชายแดนพม่ามีกองกำลัง ต่างๆ มีการขนส่ง ปลูกพืชเสพติด รวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่าอยู่เสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระราชินีนาถจึงมีพระราชดำริให้รวบรวมราษฎรกลุ่มน้อยบริเวณนั้น และ พัฒนาความเป็นอยู่ ส่งเสริม อาชีพปลูกป่า สร้างอ่างเก็บน้ำ โดยมีพระราชประสงค์สร้างความมั่นคงแนวชายแดน พัฒนาความเป็นอยู่ของ ราษฎร ให้ดีขึ้นและฟื้นฟูอนุรัปางอุ๋ง มีลักษณะเป็นพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวสนที่ปลูกเรียงรายกัน ปางอุ๋ง ที่หลายๆ คนอาจยังไม่เข้าใจความหมาย คำว่า ปาง ซึ่งหมายถึงที่พักของคนทำงานในป่า ส่วน อุ๋ง นั้น เป็นภาษาเหนือหมายถึงที่ลุ่มต่ำคล้ายกระทะใบใหญ่มีน้ำขังเฉอะแฉะ ก็น่าจะหมายถึงที่พักริมอ่างเก็บน้ำนี่เอง ภาพอันสวยงามของไอหมอกที่ลอยเหนือทะเลสาป กับบรรยากาศอันหนาวเหน็บในยามเช้า ทำให้ปางอุ๋ง กลาย เป็น เป็นสถานที่ท่องเี่ที่ยวมาแรง ยอดฮิต สุดแสนโรแมนติกติดอันดับต้นๆของแม่ฮ่องสอน จนได้รับขนานนาม ว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย"ยิ่งยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำผ่านทิวสนและไอหมอกบางๆ ยิ่งเ็ป็นภาพที่สร้างความประทับยากจะลืมเลือน แม้ในกระทั่งเวลาที่หมอกเลือนลางหายไปก็ยังคงความงามกษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไปที่ปางอุ๋งนอกจากชมบรรยากาศของสายหมอกในยามเช้าแล้ว กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่พลาดไม่ได้ คือ การนั่งแพ ชมทัศนียภาพและบรรยากาศโดยรอบ รวมถึงชมนดาราแห่งปางอุ๋ง นั่นก็คือหงส์พระราชทานจากสมเด็จพระราชินี ซึ่งเป็นหงส์ดำและหงส์ขาวอย่างละ 1 คู่ด้วยกันและไม่ควรพลาดที่จะไปชมสวนปางอุ๋งใกล้กับ ที่ทำการของ โครงการพระราชดำริฯ ซึ่งจัดสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีพืชพรรณที่กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศบนที่สูงทดแทนไร่ฝิ่น ร้างแต่ดั้งเดิมซึ่งไว้ลูกพืชที่ให้ประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแพทย์แผนไทย และสร้างความกลมกลืนกับ ภูมิประเทศ เช่น อะโวคาโด พลับ สาลี่ บ๊วยอีกทั้งยังมีการตกแต่งด้วยสวนไม้ ดอกไม้ประดับเมืองหนาว เช่น กุหลาบ ไฮเดรนเยีย พวงแสด อีกทั้งยังมีการพยายามนำพืชและสัตว์ประจำถิ่นของพื้นที่ปางอุ๋งกลับมา เช่น เอื้องแซะและกล้วยไม้ต่างๆ และสัตว์อย่างเขียดแลน เป็นต้น

การเดินทางไปปางอุ๋ง

1.โดยรถส่วนตัว
เส้นทางที่1
-
จากกรุงเทพ ถ้าขับรถไปเองอาจใช้เส้นทางกรุงเทพ-ฮอด ผ่านอยุธยา-นครสวรรค์-ตาก ถึง อำเภอลี้ แยกซ้ายเข้า อำเภอ แล้วเดินทางต่อไปตามเส้นทาง ลี้-บ้านโฮ่ง ก่อนถึง อำเภอบ้านโฮ่ง จะมีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายไปทะเลสาบ ดอยเต่า ขับไปจนถึงฮอด จากนั้นใช้เส้นทาง ฮอด - แม่ฮ่องสอน ผ่าน อำเภอขุนยวม เข้าสู่ อำเภอเมือง แม่ฮ่องสอน - จากเมืองแม่ฮ่องสอนสู่ปางอุ๋ง ตามเส้นทางสู่ แม่ฮ่องสอน-ปางมะผ้า-ปาย ขับไปเรื่อย ๆ ผ่านน้ำตก ผาเสื่อ ผ่านพระตำหนักปางตอง เข้าสู่บ้านหมอกจำแป๋ หมู่บ้านใหญ่เป็นจุดแยก ซ้ายไปปางอุ๋ง ขวาไปถ้ำปลา (ระยะทางไปถ้ำปลาแค่ 3 ก.ม.)เลี้ยวซ้ายจากนี้ไป หนทางคดโค้ง ไต่เขาชันขึ้นเรื่อยๆ มาถึง บ้านนาป่าแปก หมู่บ้านรวมมิตรที่จะเห็นชาวบ้านทั้งกระเหรี่ยงและไทยใหญ่ แต่งกายเป็นเอกลักษณ์ เลี้ยวซ้ายเข้า หมู่บ้านรวมไทย ผ่านหมู่บ้านรวมไทย ก็เข้าถึงจุดหมายโครงการสวนป่าในพระราชดำริปางตอง 2 “ปางอุ๋งทะเลสาบสวย แต่ถ้าตรงไปเป็น หมู่บ้านรักไทย หมู่บ้านของชาวจีน จากกองพล 93
เส้นทางที่2
-
มุ่งหน้าไปจังหวัดเชียงใหม่ แล้วค่อยต่อไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขาขึ้นจากเชียงใหม่แนะนำเส้นทางแม่มาลัย-ปาย-ปางมะผ้า มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ก่อนถึงแม่ฮ่องสอน จะถึงทางเข้าบ้านหมอกจำแป่ ให้เลี้ยวขวาเข้า ไปตามทางจะมีป้ายบอกทางไปบ้านรวมไทย น้ำตกผาเสื่อ พระตำหนักปางตอง บ้านรักไทย ซึ่งอยู่ทางเดียวกัน ประมาณ 25 กิโลเมตรมีทางแยกซ้าย ป้ายเล็กๆ เขียนว่า บ้านรวมไทย ให้เลี้ยวเข้าไปผ่านหมู่บ้านห้วยมะเขือส้ม ตรงไปเรื่อยๆ ก็จะถึงบ้านรวมไทย หรือ ปางอุ๋ง
2.
โดยสารรถประจำทาง
จากแม่ฮ่องสอน ให้ไปที่หน้าตลาดสายหยุด ถามหาคิวรถปางอุ๋ง จะมีรถสองแถวประจำทางขึ้นไปยังปางอุ๋ง (บ้านรวมไทย) เป็นสาย แม่ฮ่องสอน-ห้วยมะเขือส้ม เที่ยวไป 09.00 น. และ 14.00 น., เที่ยวกลับ 06.00 น. และ 11.00 น.หรืออาจจะเหมารถจากหน้าตลาดสายหยุดไปเลยก็ได้อัตรค่าโดยสารประมาณ 600 บาท
สำหรับคนที่ต้องการรถสองแถวนำเที่ยวปางอุ๋ง ติดต่อ โทร 081 784 5121, 086 115 2816 ราคาวันละ 1600 บาท โดยจะนำเที่ยวปางอุ๋ง บ้านรักไทย พระตำหนักปางตอง ภูโคลน โดยจะมารับเวลาตี 5 ในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน หรือแล้วจะตกลงสถานที่

 



                                        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น